บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
การกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) “บริษัท” ดำเนินธุรกิจประกันวินาศภัยโดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งแสดงถึงการมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย อันจะช่วยเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท โดยคณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแล ดำเนินการ และมีการทบทวนกรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่กำหนดขึ้นอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีการปฏิบัติและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

กรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท ประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญ 9 หมวด ดังนี้

ผผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของบริษัท ผ่านทางคณะกรรมการบริษัทที่ตนแต่งตั้งขึ้น มีสิทธิในการแสดงความเห็น ซักถาม ตัดสินใจในการดำเนินการหรือไม่ดำเนินการ ดังนั้นคณะกรรมการบริษัท ต้อง
      1) ให้ความสำคัญกับการปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิของตน
      2) ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการซักถามข้อสงสัย เสนอความคิดเห็นในที่ประชุมตามระเบียบวาระการประชุมและออกเสียงลงมติ โดยประธานในที่ประชุมควรจัดสรรเวลาให้เหมาะสมและส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็น
      3) ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกต่อผู้ถือหุ้นในการรับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ เช่น ผลประกอบการ บทวิเคราะห์ ผลการดำเนินงาน ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เป็นต้น และผู้ถือหุ้นต้องสามารถเข้าถึงสารสนเทศของบริษัท เช่น ผู้ถือหุ้นต้องได้รับข้อมูล ขั้นตอน ระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้น และข้อมูลประกอบการพิจารณาอย่างครบถ้วนเพียงพอ
      4) คณะกรรมการบริษัทและเลขานุการบริษัท ต้องเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้งหากไม่ติดภารกิจสำคัญ เพื่อตอบข้อซักถาม และรับฟังความคิดเห็นของผู้ถือหุ้น

ผู้ถือหุ้นแต่ละรายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ดังนั้นคณะกรรมการบริษัท ต้อง
      1) รักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน และมีสิทธิมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมและลงมติแทน โดยผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับเอกสารคำแนะนำในการมอบฉันทะ โดยผู้รับมอบฉันทะเมื่อได้ยื่นหนังสือมอบฉันทะให้กรรมการในที่ประชุมแล้วย่อมมีสิทธิเข้าร่วมประชุม และลงมติเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นทุกประการ
      2) สนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นข้างน้อยใช้สิทธิของตนเสนอวาระการประชุมเพิ่มเติม หรือเสนอชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท ซึ่งต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท

ในการดำเนินธุรกิจย่อมต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายย่อมมีความต้องการและมีผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มต้องสอดคล้องกับความต้องการ ดังนั้นคณะกรรมการบริษัทต้องถือปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มดังนี้
   ผู้ถือหุ้น   บริษัทมุ่งมั่นดำเนินงานให้มีผลประกอบการที่ดี มีผลกำไรที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง
            โดยดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบและโปร่งใส
   ภาครัฐ    บริษัทมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด พร้อมกับส่งเสริม
            ให้มีการปฏิบัติตามและสนับสนุนกิจกรรมของภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตาม
            กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายป้องกันและปราบปราม
            การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพ
            ทำลายล้างสูง การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เป็นต้น
   พนักงาน   บริษัทตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ
            ขององค์กรและให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงานเพื่อรองรับ
            การแข่งขันในธุรกิจ
   ลูกค้า     บริษัทมุ่งมั่นในการให้บริการต่อลูกค้าด้วยความเต็มใจ เต็มกำลังความสามารถ
            ด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม ให้คำแนะนำช่วยเหลือแก่ลูกค้าด้วยวาจาที่สุภาพ
            อ่อนโยน พร้อมรับฟัง ปัญหาและหาแนวทางแก้ไข ไม่เปิดเผยข้อมูลหรือความลับ
            ของลูกค้า
   เจ้าหนี้    บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับเจ้าหนี้กลุ่มต่างๆ เพื่อธำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและ
            ความน่าเชื่อถือของบริษัท
   คู่ค้า     บริษัทต้องปฏิบัติต่อคู่ค้าทุกกลุ่มด้วยความเป็นธรรมและเสมอภาค และปฏิบัติตาม
            เงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ร่วมกัน เพื่อธำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัท
   คู่แข่ง     บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยความสุจริตและโปร่งใสตามกรอบจรรยาบรรณของบริษัท
            ใช้หลักการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
   สังคมและส่วนรวม    บริษัทดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม
            และประเทศชาติ ให้การสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ร่วมพัฒนาสังคม ชุมชน
            สิ่งแวดล้อม ตลอดจนมุ่งมั่นสร้างสรรค์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

บริษัทได้มีการเปิดเผยข้อมูลด้านการเงิน การลงทุน รวมถึงการรายงานผลประกอบการของบริษัท ตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด และเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน จึงมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ของบริษัท www.mittare.com และบริเวณโถงส่วนกลางชั้นที่ 1 ของบริษัท

คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่จะช่วยให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปในทิศทางที่กำหนดไว้ มีความทุ่มเทและให้เวลาอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ โดยผู้ถือหุ้นเป็นผู้คัดเลือกและแต่งตั้ง รวมถึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการบริษัท
      1) โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท
      บริษัทได้กำหนดโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทไว้ในข้อบังคับของบริษัท โดยคำนึงถึงความสมดุลของอำนาจและความสามารถของกรรมการแต่ละท่านในการทำงานร่วมกัน มีความคล่องตัว และเป็นไปตามข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
      2) คุณสมบัติของกรรมการบริษัท
      - มีคุณสมบัติและความสามารถที่เหมาะสมตามข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
      - ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 กำหนด
      - มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ในธุรกิจ เข้าใจถึงคุณสมบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของตน และมีทักษะที่หลากหลายเหมาะสมกับลักษณะขนาด ความซับซ้อน และความเสี่ยงของบริษัท เพียงพอในการมอบนโยบายให้แก่ฝ่ายบริหารจัดการได้
      - มีความเป็นผู้นำ ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับบริษัท มีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายภายในของคณะกรรมการบริษัทเอง และสามารถตรวจสอบถ่วงดุลการดำเนินงานของฝ่ายบริหารได้
      - มีความเต็มใจ ทุ่มเท เสียสละ อุทิศเวลา พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทอย่างเต็มความรู้ความสามารถ
      3) วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริษัท
      - ตามข้อบังคับของบริษัท ในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการบริษัทออกจากตำแหน่งจำนวนหนึ่งในสามของกรรมการบริษัทที่มีอยู่ทั้งหมด ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม โดยกรรมการที่ออกจากตำแหน่งตามวาระนั้นอาจได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นกรรมการใหม่ได้
      - นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
      (1) ตาย      (2) ลาออก      (3) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย      (4) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้ออกจากตำแหน่ง      (5) ศาลมีคำสั่งให้ออก
      4) การประชุมของคณะกรรมการบริษัท
      ตามข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัท อย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง โดยจัดให้มีขึ้น ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท หรือจังหวัดใกล้เคียง หรือ ณ สถานที่อื่นใดตามที่ประธานกรรมการ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการกำหนด ในการเรียกประชุมคณะกรรมการบริษัทให้ประธานกรรมการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการ ส่งหนังสือนัดประชุมไปยังกรรมการบริษัทไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทจะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้ กรณีที่กรรมการคนใดไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ให้แจ้งสาเหตุให้เลขานุการบริษัททราบล่วงหน้าก่อนการประชุม และเลขานุการบริษัทจะต้องแจ้งผลการประชุมให้กรรมการที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบด้วย
      5) ค่าตอบแทนกรรมการบริษัท
      ในการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท จะอยู่ในอำนาจอนุมัติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งอาจกำหนดเป็นจำนวนแน่นอนหรือวางเป็นหลักเกณฑ์และจะกำหนดไว้เป็นคราวๆ ไป หรือให้มีผลตลอดไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้โดยให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท และการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวต้องไม่ขัดกับกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดและกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หลักเกณฑ์ที่สำคัญเกี่ยวกับค่าตอบแทนมีดังนี้
      - กรรมการจะต้องไม่อนุมัติค่าตอบแทนของตนเอง
      - ต้องกำหนดค่าตอบแทนอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และขอความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นก่อน
      - จำนวนและระเบียบค่าตอบแทนกรรมการควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามสถานการณ์ เพียงพอเพื่อจูงใจและรักษากรรมการที่มีความสามารถไว้
      - คณะกรรมการควรเปิดเผยค่าตอบแทนกรรมการที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงินไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทเป็นรายบุคคล

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารงานรวมถึงการควบคุมดูแลการดำเนินงาน คณะกรรมการบริษัทจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ดังนี้
      1) คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)
      คณะกรรมการตรวจสอบเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้บริษัทมีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ช่วยแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการบริษัทให้เกิดความคล่องตัวในการจัดการ ช่วยในการให้ความเห็นที่ตรงไปตรงมาต่อรายงานทางการเงินและระบบการการควบคุมภายใน ซึ่งจะทำให้รายงานทางการเงินของบริษัทมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน คณะกรรมการบริษัทจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้นโดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 และเป็นไปตามกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแล้ว
      2) คณะกรรมการลงทุน (Investment Committee)
      การลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นเป็นธุรกรรมที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงาน และความมั่นคงของบริษัท คณะกรรมการบริษัทจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการลงทุนขึ้น โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการลงทุนรวมถึงระเบียบวิธีปฏิบัติในการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแล้ว
      3) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee)
      คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่ช่วยคณะกรรมการบริษัท ในการปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงของบริษัทให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยการจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม (enterprise risk management) ซึ่งเป็นกระบวนการวางแผน จัดการ และควบคุมความเสี่ยงของบริษัท แบบองค์รวม เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนที่มีต่อการดำเนินธุรกิจให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงขึ้น โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำกับการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม และการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2562 และเป็นไปตามกฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแล้ว

คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบจัดการกิจการทั้งปวงของบริษัท และมีอำนาจหน้าที่จัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน หรือบุคคลอื่นใดปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งแทนคณะกรรมการบริษัทก็ได้
      หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ครอบคลุมถึงการกำหนดกรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี กลยุทธ์และนโยบายที่สำคัญ ดูแลให้บริษัทมีกลไกในการควบคุม กำกับ ที่มีประสิทธิผล และติดตามดูแลการดำเนินงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และสร้างคุณค่าให้บริษัทอย่างเหมาะสมในระยะยาว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
      1) กำหนดทิศทาง นโยบาย และกลยุทธ์ของบริษัท ดังต่อไปนี้
      - กำหนดทิศทางและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในภาพรวมของบริษัท รวมทั้งพิจารณาอนุมัตินโยบายและกลยุทธ์ในการดำเนินงานของบริษัท โดยกำกับดูแลให้บริษัทคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และหลีกเลี่ยงการรับความเสี่ยงที่เกินกว่าระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
      - กำกับดูแลให้บริษัทมีนโยบายการดูแลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือเกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการไม่คำนึงถึงความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัท
      - กำกับดูแลให้บริษัทมีนโยบายและกระบวนการแจ้งเบาะแสภายในองค์กร (whistleblowing policy and procedure) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการสอดส่องดูแลและรายงานการกระทำที่อาจผิดกฎหมาย ขัดต่อนโยบาย กระบวนการภายใน และจรรยาบรรณทางธุรกิจ
       - กำกับดูแลให้บริษัทมีการกำหนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงกรรมการ ผู้บริหาร บุคลากรหลักในหน่วยงานควบคุม และพนักงานในหน่วยงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สำคัญ (major risk-taking staff) อย่างเหมาะสม สะท้อนวัตถุประสงค์และความเสี่ยงของแต่ละหน่วยงาน โดยคำนึงถึงความมั่นคงในระยะยาวของบริษัท รวมถึงไม่สร้างแรงจูงใจในการทำธุรกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมากเกินไปจนกระทบต่อความมั่นคงของบริษัทและผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
      - กำหนดให้บริษัทมีบทบัญญัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณของบริษัท (Code of Conduct) เพื่อเป็นแนวทางให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัท ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติภายในบริษัท
      - กำกับดูแล ติดตามการดำเนินงานของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่ากรรมการที่เป็นผู้บริหารและฝ่ายจัดการได้ดำเนินกิจการตามนโยบายที่กำหนดไว้ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
      - ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม โดยแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต
      2) กำกับดูแลให้บริษัทมีกระบวนการและกลไกในการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบที่มีประสิทธิผล ซึ่งต้องประกอบด้วยรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
      - กำหนดโครงสร้างบริษัทให้มีการแบ่งแยกหน้าที่ในการกำกับดูแล และการบริหารจัดการ และกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และบุคลากรหลักในหน่วยงานควบคุมต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อให้มีการกำกับดูแลการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
      - กำกับดูแลให้บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในตามที่กฎหมายกำหนด ให้เหมาะสมกับลักษณะ ขนาด และความซับซ้อนของบริษัท โดยคณะกรรมการบริษัทต้องดูแลให้บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับความเสี่ยงที่สำคัญ และควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ รวมทั้งกำกับดูแลให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ
      - พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยที่เหมาะสมกับลักษณะ ขนาด และความซับซ้อนของธุรกิจ เพื่อช่วยสนับสนุนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท รวมถึงพิจารณาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อย
      - กำกับดูแลการสอบบัญชีของบริษัท โดยครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้
            (ก) พิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลที่มีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และกำหนดค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม ในการพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาผู้สอบบัญชีที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจประกันภัย การประเมินมูลค่าสำรองประกันภัย และการดำเนินธุรกิจประกันภัยเป็นอย่างน้อย และควรเป็นผู้สอบบัญชีตามรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
            (ข) กำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงาน (management letter) และข้อคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท
            (ค) จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการตรวจสอบและผู้สอบบัญชีของบริษัทเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยไม่มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุมด้วย
      - กำกับดูแลให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคณะกรรมการยังคงสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้ อาจกำหนดให้การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นไปในรูปแบบของกรรมการองค์รวมทั้งคณะ หรือกรรมการเป็นรายบุคคลก็ได้
      - กำกับดูแลให้บริษัทมีการเปิดเผยข้อมูลด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อสาธารณะ
      - กำกับดูแลให้บริษัทมีกระบวนการจัดทำรายงานทางการเงินที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ และเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่างๆ อย่างถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา ต่อสาธารณะและหน่วยงานกำกับตามกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

      3) ติดตามกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง ดังต่อไปนี้
      - กำกับดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
      - กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานของผู้บริหารให้เป็นไปตามกลยุทธ์และนโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
      - กำกับดูแลให้บริษัทมีเงินกองทุนที่มั่นคงและเพียงพอรองรับการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต และติดตามฐานะเงินกองทุนอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีกระบวนการหรือเครื่องมือที่ใช้ดูแลความเพียงพอของเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่มั่นคง
      - กำกับดูแลให้ผู้บริหารรายงานเรื่องที่สำคัญของบริษัท และมีกระบวนการในการรายงานข้อมูล เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะปฏิบัติตามอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้อย่างสมบูรณ์
      - กำกับดูแลให้บริษัทมีการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม โดยมีการกำหนดขั้นตอนหรือกระบวนการในการเสนอขายและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาอย่างชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือใช้ประโยชน์จากความเข้าใจผิดของลูกค้า
      4) รายงานของคณะกรรมการบริษัท
      คณะกรรมการของบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้องของงบการเงินของบริษัท รวมถึงสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี โดยงบการเงินดังกล่าวจะต้องถูกจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน โดยคณะกรรมการของบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบซึ่งมีกรรมการอิสระเป็นผู้ดูแล รับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงินและระบบควบคุมภายใน
      
      5) การสรรหาตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
      การคัดเลือกกรรมการผู้จัดการจะต้องดำเนินการอย่างเหมาะสม โปร่งใส และเป็นธรรม โดยปราศจากอิทธิพลจากฝ่ายใดๆ ไม่ว่าฝ่ายผู้ถือหุ้น หรือฝ่ายอื่นๆ
      6) การปกป้อง รักษาและการใช้ทรัพย์สินของบริษัท
      คณะกรรมการบริษัทจะส่งเสริมให้กรรมการทุกคนรวมถึงผู้บริหาร ปกป้องรักษาทรัพย์สินของบริษัท และใช้ทรัพย์สินดังกล่าวเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท และไม่ให้นำไปใช้เป็นการส่วนตัว หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
      7) การป้องกันความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of Interest) และการทำธุรกิจที่เป็นธรรม
      ห้ามมิให้กรรมการบริษัท ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นกรรมการของบริษัทเอกชนหรือนิติบุคคลอื่นใดที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่น เว้นแต่จะได้แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง และกรรมการบริษัท รวมถึงผู้บริหารทุกคนจะต้องไม่เอาเปรียบบุคคลอื่นโดยวิธี
          - การปิดบังข้อมูล
          - การแถลงข้อมูลอันเป็นเท็จ
          - การสมรู้ร่วมคิดในทางที่ไม่สุจริต
          - การปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากความยุติธรรม หรือ
          - การเลือกปฏิบัติ
      8) การเก็บรักษาความลับ
      คณะกรรมการบริษัทได้มีการกำหนดนโยบายการเก็บรักษาความลับไว้ในจรรยาบรรณของบริษัท การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ หรือเป็นการเปิดเผยตามกฎหมาย
      9) การพัฒนากรรมการและผู้บริหารของบริษัท
      เนื่องจากธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อนทั้งในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย ต้นทุนการตั้งสำรองประเภทต่างๆ การดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุน เป็นต้น ดังนั้นบริษัทจึงมีนโยบายในการส่งเสริมให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทเข้ารับการอบรมความรู้ ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย รวมถึงความรู้ในด้านต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรรมการบริษัทมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
      1) ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
      2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวัง คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทและผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ ต้องไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่กรรมการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน หรือกระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท รวมทั้งปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท มติคณะกรรมการบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
      3) เข้าใจบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการประชุม ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ รวมถึงเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัททุกครั้ง เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
      4) ตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ สมเหตุสมผล อยู่บนพื้นฐานของการมีข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการตัดสินใจ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในกรณีการประชุมคณะกรรมการบริษัทซึ่งมีวาระที่กรรมการคนใดมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จะต้องแจ้งให้คณะกรรมการบริษัททราบ และไม่เข้าไปมีส่วนร่วมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจหรือลงมติในการประชุมวาระนั้น

ผู้บริหารมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงานตามกลยุทธ์และนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด เพื่อให้บริษัทบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ
      ผู้บริหารของบริษัท หมายถึง กรรมการผู้จัดการ และผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากกรรมการผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชี หรือการเงิน ที่เป็นระดับหัวหน้าฝ่ายขึ้นไป หรือเทียบเท่า
      หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหาร มีดังต่อไปนี้
      1) นำกลยุทธ์และนโยบายในการดำเนินธุรกิจที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการสร้างมูลค่าในระยะยาวและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
      2) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการให้บริษัทมีการบริหารจัดการความเสี่ยง มีระบบการควบคุมภายในอย่างมีประสิทธิภาพ มีการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม
      3) มีการรายงานข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัท ระดับความเสี่ยงของบริษัท และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างถูกต้อง เพียงพอ และทันเวลา เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทสามารถกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      4) กำหนดโครงสร้างสายการบังคับบัญชาหรือสายการรายงานที่เหมาะสม รวมถึงการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานภายใต้สายการบังคับบัญชานั้นอย่างชัดเจน ให้เอื้อต่อการบริหารจัดการความเสี่ยง และการกำกับ ควบคุม ตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ
      5) ส่งเสริมให้บริษัทมีวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง ดูแล และควบคุมความเสี่ยงของบริษัทให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ตามที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด รวมทั้งสื่อสารให้พนักงานทุกคนในบริษัทเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายการบริหารความเสี่ยงของบริษัท
      6) จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็นประจำทุกปี โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดไว้ และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัท
      7) ต้องไม่ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานเต็มเวลาที่องค์กรอื่น เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาที่องค์กรอื่นนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้บริษัท

บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) “บริษัทฯ” ดำเนินธุรกิจประกันวินาศภัยโดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการบริหารงานโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บริษัทฯ เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

จรรยาบรรณฉบับนี้จัดทำขึ้นตามกรอบจริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติที่ดีในการประกอบธุรกิจ เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน รวมถึงตัวแทนของบริษัทฯ ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบอย่างมีจริยธรรม มีมาตรฐานคุณภาพในการบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งมีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีและเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

“บริษัทฯ” หมายถึง บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
“กรรมการ” หมายถึง กรรมการ ของ บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
“พนักงาน” หมายถึง ผู้บริหาร และพนักงาน ของ บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
“ตัวแทน” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พนักงานของบริษัทฯ ซึ่งปฏิบัติงานแทนในนามบริษัทฯ ตามที่บริษัทฯ ได้มอบหมาย
“การคอร์รัปชัน” หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นในทุกรูปแบบไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งหมายความรวมถึง การช่วยเหลือทางการเมือง การบริจาคเพื่อการกุศล เงินสนับสนุน ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ หากการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกิดจากการใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะโดยการนำเสนอ การให้คำมั่นสัญญา การยอมรับ การขอ การเรียกร้อง การให้ การรับสินบน หรือการกระทำใดๆ ที่ส่อไปในทางคอร์รัปชัน ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและความเสียหายต่อบริษัทฯ เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้ที่เกี่ยวข้อง
“การช่วยเหลือทางการเมือง” หมายถึง การให้เงิน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์อื่นใด หรือการให้ในรูปแบบอื่นใด เพื่อสนับสุนนกิจกรรมทางการเมืองแก่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมือง ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
“การบริจาคเพื่อการกุศล” หมายถึง การบริจาคเงิน สิ่งของ หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถคำนวณได้เป็นตัวเงินให้กับองค์กรสาธารณกุศล โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
“เงินสนับสนุน” หมายถึง เงินที่จ่ายให้หรือได้รับ สิ่งของที่ได้ให้หรือได้รับ หรือผลตอบแทนอื่นที่ได้ให้หรือได้รับ ซึ่งอาจจะคำนวณได้เป็นตัวเงิน จากลูกค้า คู่ค้าหรือคู่สัญญา หุ้นส่วนทางธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ตราสินค้า หรือชื่อเสียงของบริษัท เพื่อประโยชน์ในการสร้างความน่าเชื่อถือทางการค้า ช่วยสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และเป็นการให้ในโอกาสที่เหมาะสม
“ค่าของขวัญ ของกำนัล” หมายถึง สิ่งของมีค่าทั้งที่เป็นวัตถุ สินค้า และบริการ ไม่ว่าจะเป็นการให้ หรือรับโดยตรง หรือให้โดยมีการขายในราคาพิเศษ

นโยบายในการดำเนินธุรกิจ

บริษัทฯ ยึดมั่นอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมภายใต้กรอบของกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

 

นโยบายการปฏิบัติต่อพนักงาน

เพื่อให้ได้พนักงานที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณของบริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายตั้งแต่การสรรหา การรักษาพนักงานที่เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ โดยให้ความสำคัญในการกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสม ส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การส่งเสริมให้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถกับหน่วยงานอื่น การพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะโดยการให้การฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ มีการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบและมีสวัสดิการที่เป็นธรรม

 

นโยบายการปฏิบัติต่อลูกค้า

บริษัทฯ มุ่งมั่นให้ความสำคัญในการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า โดยการให้บริการเหนือความคาดหมายด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้ความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ยุติธรรม เพื่อเป็นบริษัทประกันภัยอันดับ 1 ในใจลูกค้า การให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาความลับของลูกค้า การศึกษาข้อมูลและความต้องการของลูกค้าเพื่อให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์ ที่เหมาะสม กำหนดช่องทางการสื่อสารกรณีลูกค้าต้องการสอบถาม เสนอแนะ หรือร้องเรียน และกำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อให้ การแก้ไขปัญหาแก่ลูกค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม

 

นโยบายการปฏิบัติต่อคู่ค้าและคู่สัญญา

บริษัทฯ ปฏิบัติต่อคู่ค้าและคู่สัญญาโดยยึดหลักความเสมอภาค สุจริต ซื่อตรง และยุติธรรมโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมทั้งปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงระหว่างกันอย่างเคร่งครัด ไม่มีนโยบายในการเรียกรับหรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ นอกจากที่ระบุไว้ในเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ได้ทำไว้ร่วมกัน

 

นโยบายการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสารสนเทศอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมและสามารถกำกับดูแลสถานภาพทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความมั่นคงเพื่อความคงอยู่และความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องรวมถึงการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน

 

นโยบายการปฏิบัติต่อคู่แข่งขันทางการค้า

บริษัทฯ ยึดมั่นอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม การแข่งขันทางการค้าอยู่ภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันเสรีที่ดี และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ไม่ละเมิดความลับทางการค้าของคู่แข่งด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม

 

นโยบายการปฏิบัติต่อสังคมและส่วนรวม

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมถึงปลูกฝังให้พนักงานทุกคนในบริษัทฯ เป็นพลเมืองที่ดี ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

 

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน

บริษัทฯ จะร่วมมือกับภาครัฐ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชนและองค์กรระหว่างประเทศ ในการสร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่ใสสะอาด พัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน และการยกระดับการพัฒนาประเทศ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ รวมถึงการกำกับดูแลให้กรรมการ พนักงาน และตัวแทนของบริษัทฯ ดำเนินงาน และปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน

 

นโยบายทางการเมือง

บริษัทฯ ไม่ช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนการเมืองแก่พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง หรือนักการเมือง ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงไม่ให้ใช้ทรัพย์สินใดๆ ของบริษัทฯ เพื่อดำเนินการดังกล่าว

 

นโยบายการบริจาคเพื่อการกุศล การสาธารณประโยชน์ และการให้เงินสนับสนุน

การบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการกุศล การสาธารณประโยชน์ และการให้เงินสนับสนุน จะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ขัดต่อศีลธรรม รวมถึงไม่เป็นการกระทำการใดที่จะมีผลเสียหายต่อสังคมส่วนรวม

 

นโยบายเรื่องค่าของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง

การให้หรือรับของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง หรือผลประโยชน์อื่นใด แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอกชน ลูกค้า คู่ค้าหรือคู่สัญญา รวมถึงตัวแทนทางธุรกิจ ให้ถือปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้ หรือรับของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง หรือผลประโยชน์อื่นใดที่บริษัทฯ จะได้กำหนดขึ้น และต้องเป็นการจ่ายอย่างสมเหตุสมผล การอนุมัติให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยอำนาจอนุมัติที่บริษัทฯ กำหนด และสามารถตรวจสอบได้

1) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย กฎหมายว่าด้วยการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ การปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชัน และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยการเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน3) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังมีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม และยุติธรรมเพื่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม4) ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน โดยไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในธุรกรรมหรือกิจกรรมที่ตนเองมีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์5) ไม่เปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับของบริษัทฯ ที่ได้รับทราบมาจากตำแหน่งหน้าที่ ไม่ว่าการเปิดเผยดังกล่าวจะเพื่อแสวงหาหรือไม่แสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น6) ควรเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทุกครั้ง เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็น7) มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างเต็มความสามารถ8) ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พนักงาน รวมถึงกำกับดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิบัติฝ่าฝืนจริยธรรมและจรรยาบรรณของบริษัทฯ9) สนับสนุนการสร้างศักยภาพเพื่อความก้าวหน้า การจัดสวัสดิการ ผลตอบแทน สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีให้แก่พนักงานอย่างเหมาะสม การเคารพในสิทธิและการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน

จรรยาบรรณต่อบริษัทฯ
1) ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ ตามนโยบาย คำสั่งและข้อบังคับของกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ รวมถึงระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ ซึ่งรวมถึงปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันของบริษัทฯอย่างเคร่งครัด การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าพนักงานทำผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานของบริษัทฯ2) ปฏิบัติหน้าที่โดยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม เพื่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม3) มีความศรัทธา มีความผูกพัน มีทัศนคติที่ดี และรักษาชื่อเสียงของบริษัทฯ4) ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ หรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น5) ไม่ใช้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นสาระสำคัญของบริษัทฯ ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อแสวงหากำไรหรือผลประโยชน์ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น6) รักษาความลับของบริษัทฯ โดยเคร่งครัดและระมัดระวังมิให้รั่วไหลหรือรู้ไปถึงผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ ยกเว้นในกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เปิดเผย หรือเพื่อการดำเนินธุรกิจอันเป็นปกติธุระโดยได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ7) ไม่ทำการใดๆ อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท หรือเข้าไปเกี่ยวพันกับสถานการณ์หรือกิจกรรมใดที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์8) ไม่เรียกร้อง ไม่รับ ไม่จ่ายผลประโยชน์ใดๆ ซึ่งขัดต่อกฎหมาย จรรยาบรรณ นโยบาย ระเบียบ ประกาศ คำสั่งและข้อบังคับของบริษัทฯ ยกเว้นกรณีดังกล่าวเป็นไปตามหลักปฏิบัติทางธุรกิจตามปกติ ซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมาะสม ไม่บ่อยครั้ง และเหมาะสมกับโอกาส9) มีการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนางานอยู่เสมอ10) ใช้และรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้เกิดประโยชน์อย่างดีที่สุด และไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน
1) ปฏิบัติต่อผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงานด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ และยุติธรรม2) ปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำสั่งโดยชอบธรรมของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ ให้ความนับถือต่อผู้บังคับบัญชาและพนักงานที่มีอาวุโสกว่า และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับเพื่อนร่วมงานด้วยกันในการปฏิบัติงานของบริษัทฯ3) รักษาและเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน มีความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในทางที่ชอบ4) เคารพสิทธิ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และหลีกเลี่ยงการนำข้อมูลเกี่ยวกับงาน หรือเรื่องส่วนตัวของผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงาน ไปเปิดเผยหรือวิพากษ์วิจารณ์ในทางเสื่อมเสีย
จรรยาบรรณต่อลูกค้า
1) ให้บริการลูกค้าทุกรายด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง เป็นธรรม โดยการให้บริการเหนือความคาดหมายด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย2) รักษาความลับของลูกค้าอย่างเคร่งครัด ระมัดระวังมิให้รั่วไหลหรือรู้ไปถึงผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง และไม่นำข้อมูลใดๆ ของลูกค้าไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่น อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้าและบริษัทฯ เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากลูกค้า หรือกฎหมายกำหนดไว้ให้เปิดเผย หรือเพื่อการดำเนินธุรกิจอันเป็นปกติธุระโดยได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ3) ไม่ทำการใดๆ อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้า หรือเข้าไปเกี่ยวพันกับสถานการณ์หรือกิจกรรมใดที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์4) ไม่เรียกร้อง ไม่รับ ไม่จ่ายผลประโยชน์ใดๆ ซึ่งขัดต่อกฎหมาย จรรยาบรรณ นโยบาย ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และข้อบังคับของบริษัทฯ เว้นแต่กรณีดังกล่าวเป็นไปตามหลักปฏิบัติทางธุรกิจตามปกติ ซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมาะสม ไม่บ่อยครั้ง และเหมาะสมกับโอกาส
จรรยาบรรณต่อสังคม
1) ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ภายใต้กรอบของกฎหมาย และหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม2) มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม องค์กร และชุมชนต่างๆ ตามสมควรแก่ฐานะและโอกาสที่เหมาะสม

1) ประพฤติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม ไม่ประพฤติตน หรือกระทำการใดๆ อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายทางด้านการเงิน ผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรมอันดีต่อบริษัทฯ หรือผู้อื่น2) มีความศรัทธา มีทัศนคติที่ดี และรักษาชื่อเสียงของบริษัทฯ3) พัฒนาความรู้ และทักษะในวิชาชีพ เพื่อรองรับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ4) บริการลูกค้าอย่างมีคุณภาพ เอาใจใส่ดูแล ช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษา และเป็นสื่อกลางในการประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า5) ไม่ประพฤติตน หรือกระทำการใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรืออาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของลูกค้า บริษัทฯ ตัวแทนประกันวินาศภัยอื่น และผู้ที่เกี่ยวข้อง6) รักษาความลับของลูกค้าและบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด ไม่นำข้อมูลของลูกค้าและบริษัทฯ ไปเปิดเผยเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น7) ไม่เรียกร้อง ไม่รับ ไม่จ่าย และไม่แสงหาผลประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมให้ตนเองหรือผู้อื่นอันมิได้เป็นไปตามหลักปฏิบัติทางธุรกิจปกติ ขัดต่อกฎหมาย จรรยาบรรณ และข้อตกลงร่วมกันของบริษัทฯ8) ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และข้อบังคับที่บริษัทฯ กำหนด รวมถึงนโยบาย มาตรการ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของบริษัทฯ เกี่ยวกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด

บริษัทฯ กำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท และพนักงานทุกคน ที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามข้อกำหนดในจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ผู้บริหารทุกระดับในบริษัทฯ จะต้องกำกับดูแลให้พนักงานภายใต้บังคับบัญชาทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ในกรณีเกิดข้อสงสัยหรือมีปัญหาในการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณให้ปรึกษาผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของบริษัทฯ อาจได้รับการพิจารณาโทษตามกฎหมาย หรือตามระเบียบข้อบังคับการทำงานที่บริษัทฯ กำหนดไว้
บริษัทฯ จะทบทวนข้อพึงปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณนี้อย่างสม่ำเสมอ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญจะเปิดเผยแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน

บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) “บริษัทฯ” มีนโยบายในการเข้าเป็นแนวร่วมในการต่อต้านการคอร์รัปชันของภาคเอกชน (Collective Action Coalition) โดยจะร่วมมือกับภาครัฐ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชนและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่ใสสะอาดพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน และการยกระดับการพัฒนาประเทศ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ โดยบริษัทฯ จะดำเนินงานตามกรอบและขั้นตอน ซึ่งเป็นไปตามหลักการสากล อันได้แก่ หลักที่ 10 ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตตาม The Ten Principles of the United Nations Global Compact หลักการดำเนินธุรกิจว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบน (Business Principles for Countering Bribery) ซึ่งกำหนดโดย Transparency International รวมถึงหลักการที่เผยแพร่โดยธนาคารโลก และ Center for International Private Enterprise (CIPE) และองค์กรนานาชาติอื่นๆ

เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ได้รับรู้ถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบในการเป็นต้นแบบของการต่อต้านการคอร์รัปชัน ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจตามหลักคุณธรรม จริยรรม รวมถึงจรรยาบรรณ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของบริษัทฯบริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันไว้ ดังนี้

1.1. นโยบายเหล่านี้จะห้ามการให้หรือรับสินบนในทุกรูปแบบ ในทุกกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุม และต้องแน่ใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศล และบริจาคให้แก่พรรคการเมือง การให้ของขวัญทางธุรกิจ การสปอนเซอร์กิจกรรมใดๆ ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ขัดต่อศีลธรรม หรือไม่มีเจตนาแอบแฝงเพื่อความได้เปรียบทางการค้าและไม่มีเจตนาเพื่อโน้มน้าวให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ/เอกชนดำเนินการที่ไม่เหมาะสม โดยให้ยึดถือปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทฯ         

1.2. นโยบายเหล่านี้จะถูกประกาศและเผยแพร่ในบริษัทฯ เพื่อเป็นแนวทางให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรม และรับผิดชอบในทุกโอกาส พร้อมกำหนดบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม         

1.3. จัดให้มีการอบรมแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบในการปฏิบัติตามหน้าที่ รวมถึงสื่อให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดีของธุรกิจ         

1.4. จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานมีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และยกระดับค่านิยมความซื่อสัตย์ สุจริตและความรับผิดชอบให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมบริษัทฯ         

1.5. จัดให้มีกลไกการรายงานสถานะทางการเงินที่โปร่งใสและถูกต้องแม่นยำ         

1.6. จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารเพื่อให้พนักงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถที่จะแจ้งเบาะแสอันควรสงสัย โดยผู้แจ้งสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครอง และมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบทุกเบาะแสที่มีการแจ้งเข้ามา         

1.7. จัดให้มีการเผยแพร่ให้ความรู้ และทำความเข้าใจกับคู่ค้า ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน รวมทั้งสื่อสารให้ทราบถึงช่องทางการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน

2.1. สนับสนุนให้มีการริเริ่มโครงการภายในบริษัทฯ และภาคธุรกิจ เพื่อสร้างเงื่อนไขในการแข่งขันที่เป็นธรรม โปร่งใส รวมถึงให้มั่นใจว่ามีการกำกับดูแลกิจการที่ดี

2.2. เข้าร่วมในการเสวนา และร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นในการประชุมต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกังวลและปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีผลต่อภาคธุรกิจเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ สุจริต และความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ

3.1. แบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีและกรอบความคิดกับองค์กรอื่นที่เป็นแนวร่วมปฏิบัติ

3.2. เข้าร่วมทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pacts) ในการจัดซื้อจัดจ้าง กับองค์กรอื่นและหน่วยงานภาครัฐ

3.3. ร่วมมือและร่วมคิดเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณธุรกิจ

3.4. ร่วมในการสร้างมาตรการและระบบตรวจสอบเพื่อส่งเสริมความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ในการดำเนินธุรกิจ

3.5 ร่วมมือกับภาคประชาสังคมและสื่อในการสร้างจิตสำนึกและการให้การศึกษาแก่สาธารณะ เพื่อเปลี่ยนค่านิยมไปสู่การต่อต้านและการประณามการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ

3.6 สนับสนุนการให้ความรู้แก่คู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ให้มีการดำเนินธุรกิจตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณ

บริษัทฯ จะทบทวนนโยบายฉบับนี้อย่างสม่ำเสมอ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มีนัยสำคัญ จะเปิดเผยแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน

1) ร้องเรียนโดยตรงยังเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการคอร์รัปชัน

2) ส่งเป็นจดหมายถึงเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการคอร์รัปชันตามที่อยู่บริษัทฯ

3) ผ่านทาง e-mail : anti-corruption@mittare.com

คำประกาศเจตนารมณ์

บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม สำหรับพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมดูแลคุณภาพการให้บริการในด้านการรับประกันภัย ด้านสินไหมทดแทน ในการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าบริษัทมุ่งเน้นการให้บริการอย่างเป็นธรรมภายใต้การดำเนินการ ดังนี้

- คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงมีการผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม และมีการกำหนด
ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนในการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม

- มีการสื่อสารและให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม

- มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดกลุ่มลูกค้าตามความเหมาะสมกับความต้องการ และความสามารถทางการเงินของลูกค้า

- การเสนอขายผลิตภัณฑ์จะไม่รบกวนความเป็นส่วนตัวของลูกค้า

- ลูกค้าจะได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ไม่เกินจริง ตรงกับความต้องการและความสามารถทางการเงินของลูกค้า

- มีระบบปฏิบัติงานและแผนฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับการบริการ
อย่างต่อเนื่อง

- การให้บริการลูกค้ามีกระบวนการปฏิบัติงาน ระบบควบคุม และการตรวจสอบ ที่คำนึงถึงการให้บริการอย่างเป็นธรรมและรัดกุม มีการตรวจจับความเสี่ยงและความผิดปกติเพื่อป้องกันการเกิด
ความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การจ่ายค่าตอบแทนจะคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าและคุณภาพของการให้บริการเป็นสำคัญ และมีมาตรการลงโทษต่อผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการเสนอขายไม่เหมาะสม

- ข้อมูลของลูกค้าได้รับการดูแลอย่างปลอดภัยและคำนึงถึงความเป็นส่วนตัว

- มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนที่ลูกค้าติดต่อได้สะดวก

- การแก้ไขเรื่องร้องเรียนจะมีการดำเนินการอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและยุติธรรม

บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (บริษัท) ดำเนินธุรกิจประกันวินาศภัยโดยยึดหลักความถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ และเพื่อให้มีความสอดคล้องกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน รวมถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน และเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอก สามารถติดต่อหรือร้องเรียนถึงการปฏิบัติที่ขัดแย้งหรือสงสัยว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ การถูกละเมิดสิทธิ รายงานทางการเงินไม่ถูกต้อง หรือระบบควบคุมภายในที่บกพร่องต่อบริษัทได้ โดยได้กำหนดช่องทางการรับแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน ขั้นตอนการดำเนินการ และมาตรการคุ้มครองผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน และผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้

1. กรณีมีแจ้งเบาะแส หรือต้องการร้องเรียนเกี่ยวกับทุจริตคอร์รัปชัน ติดต่อ
(1) เลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการคอร์รัปชัน โทร 02-640-7868
(2) ส่งจดหมายถึงเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการคอร์รัปชันตามที่อยู่บริษัท
(3) ผ่านทาง e-mail: anti-corruption@mittare.com
(4) ผ่านเวปไซต์ของบริษัท www.mittare.com/ติดต่อเรา


2. กรณีมีเบาะแส หรือต้องการร้องเรียนเกี่ยวกับการฝ่าฝืนข้อพึงปฏิบัติ หรือกระทำผิดวินัยของพนักงาน ติดต่อ
(1) ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของผู้ถูกร้องเรียนโดยตรง
(2) ฝ่ายทรัพยากรบุคคล โทร 02-640-7755
(3) ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ 02-640-7777
(4) ผ่านทาง e-mail: hraudit@mittare.com
(5) ผ่านเวปไซต์ของบริษัท www.mittare.com/ติดต่อเรา


3. กรณีมีเบาะแส หรือต้องการร้องเรียนเกี่ยวกับข้อพิพาทเรื่องค่าสินไหมทดแทน ติดต่อ
(1) หัวหน้าแผนกศูนย์รับเรื่องร้องเรียนค่าสินไหมทดแทน โทร 02-640-7777 ต่อ 7804
(2) ผ่านทาง e-mail: satheinsr@mittare.com
(3) ผ่านเวปไซต์ของบริษัท www.mittare.com/ติดต่อเรา


4. กรณีมีเบาะแส หรือต้องการร้องเรียนด้านการบริการและอื่นๆ ติดต่อ
(1) ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ 02-640-7777
(2) ผ่านทาง e-mail: contactcenter@mittare.com
(3) ผ่านเวปไซต์ของบริษัท www.mittare.com/ติดต่อเรา

1. รายละเอียดของเบาะแส ข้อร้องเรียน หรือข้อมูลที่ได้รับ ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่มีพยานหรือหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่ามีเหตุผล หรือนำไปสืบหาข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไปได้


2. ระยะเวลาในการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อน และความเพียงพอของรายละเอียด เอกสาร หลักฐาน รวมถึงข้อมูลที่ได้รับ


3. ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการรายงาน ของผู้ดูแลเรื่องร้องเรียนให้ถือตามประกาศ คำสั่ง หรือแนวนโยบายที่บริษัทได้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้แล้วเป็นการเฉพาะ

ผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนและผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง จะได้รับความคุ้มครองตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้


1. ผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน และผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง สามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้ หากเห็นว่าการเปิดเผยนั้นจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยหรือเกิดความเสียหายใด ๆ แต่หากมีการเปิดเผยตนเองก็จะทำให้บริษัทสามารถรายงานความคืบหน้าชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบ หรือบรรเทาความเสียหายได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น


2. บริษัทจะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับ การเปิดเผยจะทำเท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนและผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง แหล่งที่มาของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง


3. กรณีที่ผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนและผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่าตนอาจไม่ได้รับความปลอดภัย หรืออาจเกิดความเดือดร้อนเสียหาย ผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนและผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงสามารถร้องขอให้บริษัทกำหนดมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมก็ได้ หรือบริษัทอาจกำหนดมาตรการคุ้มครองโดยไม่ต้องร้องขอหากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเดือนร้อนเสียหาย หรือความไม่ปลอดภัย


4. ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยกระบวนการที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรม


5. หากผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนและผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้รายงานข้อวิตกกังวลหรือตั้งคำถามโดยสุจริต บริษัทจะไม่นำมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินการใดๆ ที่เป็นผลเสียต่อการจ้างงานของพนักงานผู้นั้น ไม่ว่าจะเป็นการย้ายงาน ลดตำแหน่งหน้าที่ พักงาน ตัดสวัสดิการที่พึงได้รับ รวมถึงห้ามมิให้บุคคลใดๆ ดำเนินการตอบโต้กลับผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนและผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งนี้การกระทำตอบโต้ต่อผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนและผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่รายงานข้อวิตกกังวลหรือข้อสงสัยโดยสุจริต เป็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดจรรยาบรรณของบริษัท อาจเป็นเหตุให้ถูกพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามข้อบังคับการทำงานของบริษัท

ผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน และผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง รวมถึงผู้ที่ปฏิเสธการทุจริตและการคอร์รัปชันที่มีเจตนาไม่สุจริตในการรายงาน และ/หรือต่อมาพิสูจน์ได้ว่า เป็นการกระทำที่จงใจให้เกิดความเสียหาย หรือรายงานไม่ถูกต้อง หากเป็นพนักงานจะต้องรับโทษตามระเบียบของบริษัทหากเป็นบุคคลภายนอก ซึ่งทำให้บริษัทได้รับความเสียหายบริษัทจะพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมาย

ให้ผู้ดูแลเรื่องร้องเรียน รายงานผลการพิจารณาให้ผู้แจ้งเบาะแสทราบในกรณีที่ผู้แจ้งเบาะแสเปิดเผยตนเอง พร้อมทั้งรายงานสรุปผลการดำเนินการเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนต่อคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการชุดย่อยที่ได้รับมอบหมาย

ผู้ใดกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ไม่ปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ รวมถึงมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางกลั่นแกล้ง ข่มขู่ ลงโทษทางวินัย หรือเลือกปฏิบัติด้วยวิธีอันมิชอบ อันเนื่องมาจากการแจ้งเบาะแส การร้องเรียนต่อผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามนโยบายนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยและต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งต่อบริษัทและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว